หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์
Residency Training in Internal Medicine

1. ชื่อหลักสูตร
(ภาษาไทย) หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์
(ภาษาอังกฤษ) Residency Training in Internal Medicine
ชื่อเต็ม
(ภาษาไทย) วุฒิบัตรเพื่อแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาอายุรศาสตร์
(ภาษาอังกฤษ) Diploma of the Thai Board of Internal Medicine

ชื่อย่อ
(ภาษาไทย) วว. สาขาอายุรศาสตร์
(ภาษาอังกฤษ) Dip., Thai Board of Internal Medicine

คำแสดงวุฒิกำรฝึกอบรมท้ำยชื่อ
(ภาษาไทย) วว. สาขาอายุรศาสตร์
(ภาษาอังกฤษ) Diplomate, Thai Board of Internal Medicine
หรือ Dip., Thai Board of Intern Med
กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
สถาบันร่วมอบรม 4 แห่ง ดังนี้

- แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก
- แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
- กองอายุรกรรม โรงพยาบาลอานันทมหิดล จังหวัดลพบุรี
- กองอายุรกรรม โรงพยาบาลค่ายสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มีหน้าที่หลักในการให้บริการทางอายุรกรรมที่ได้ มาตรฐานถูกต้องตามหลักวิชาการแก่ ข้าราชการทหารและครอบครัว รวมถึงประชาชนทั่วไป เป็น แหล่งฝึกอบรมและปฏิบัติงานด้านอายุรศาสตร์แก่ นักเรียนแพทย์ทหาร นักศึกษาแพทย์แพทย์ประจำบ้าน แพทย์ประจำบ้านต่อยอด และบุคลากรทางการแพทย์ทุกระดับ ให้เพียบพร้อมด้วยความรู้ด้าน วิชาการ คุณธรรม และจริยธรรม เป็นบุคคลที่จะทำประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติสร้าง ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพระดับสากลอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเวชบริการและเป็น ประโยชน์แก่ผู้ป่วยและสังคม ให้ความรู้ทางอายุรศาสตร์แก่ประชาชนทั่วไป ปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับ มอบหมายจากหน่วยเหนือได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกจากความรู้และทักษะด้านอายุรศาสตร์แล้ว อายุรแพทย์ต้องมีความรู้ ความเป็นมืออาชีพ ทักษะการสื่อสาร การปฏิบัติงานแบบสหวิชาชีพ และสอดคล้องกับระบบสุขภาพของประเทศ รวมทั้ง คุณสมบัติด้านอื่นๆ ตลอดจนต้องเป็นผู้ที่รู้ข้อจำกัดของตนเอง และมีความสามารถในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง พร้อมปรับตัวตามความหลากหลายทางวัฒนธรรมของประเทศไทย

1.ผลลัพธ์ของการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน แพทย์ที่จบการฝึกอบรมต้องสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองตามสมรรถนะหลักทั้ง 7 ด้าน ดังนี้
i. การดูแลรักษาผู้ป่วย (patient care)
ก. มีทักษะในการซักประวัติ ตรวจร่างกายผู้ป่วย ทำหัตถการ และการรวบรวมข้อมูล สำหรับ นำมาคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจให้การดูแลรักษาผู้ป่วย อย่างเหมาะสม
ข. วินิจฉัยบำบัดรักษาภาวะผิดปกติทางอายุรศาสตร์ที่พบโดยทั่วไปในประเทศไทยได้อย่าง ถูกต้องและเหมาะสม
ค. บันทึกรายงานผู้ป่วยได้อย่างสมบูรณ์และสม่่ำเสมอ
ง. ป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพ
ii. ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการนำไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและสังคม รอบด้าน (medical knowledge and skills)
ก. เข้าใจวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของร่างกายและจิตใจ
ข. มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพและเชี่ยวชาญในสาขาอายุรศาสตร์
iii. การพัฒนาตนเองและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (practice-based learning and improvement)
ก. มีความคิดสร้างสรรค์ตามหลักวิทยาศาสตร์ในการสร้างความรู้ใหม่และพัฒนาระบบ บริการสุขภาพ
ข. ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยได้
ค. เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ
iv. ทักษะปฏิสัมพันธ์และการสื่อสาร (interpersonal and communication skills)
ก. นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
ข. ถ่ายทอดความรู้และทักษะ ให้แพทย์นักศึกษาแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์
ค. สื่อสารใหข้อมูลแก่ญาติและผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีเมตตา เคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ง. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำงานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ
จ. เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์และบุคคลากรอื่น โดยเฉพาะทางอายุรศาสตร์
v. ความเป็นมืออาชีพ (professionalism)
ก. มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติอันดีต่อผู้ป่วยและญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพ และชุมชน
ข. มีความสนใจใฝ่รู้และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้ เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (continuous professional development)
ค. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
ง. คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
vi. การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (system-based practice)
ก. มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศ
ข. มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
ค. มีความร้ความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย
ง. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องสิทธิผู้ป่วย
จ. ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (cost consciousness medicine) และสามารถ ปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตาม มาตรฐานวิชาชีพ
vii. การปฏิบัติงานตามนโยบายของกรมแพทย์ทหารบก
ก. มีความรู้เกี่ยวกับโรคที่เกี่ยวข้องกับทหารที่พบบ่อย เช่น โรคลมร้อน
ข. มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยทหารและการส่งต่อ
ค. มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องแบบธรรมเนียมทหาร
2.ผลที่พึงประสงค์ของการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน สามารถผลิตแพทย์ที่จบการฝึกอบรม โดยมีคุณสมบัติครบตามสมรรถนะหลักทั้ง 7 ด้าน ตาม วัตถุประสงค์ข้างต้นและสามารถออกไปปฏิบัติงานจริงในอาชีพอายุรแพทย์ได้

มีคณะกรรมการการศึกษาหลงปริญญา ดูแล กำกับ ประเมินแผนการฝึกอบรม/หลักสูตร ให้ ดำเนินไปตามเป้าประสงค์ที่วางไว้

6.1 วิธีการให้การฝึกอบรม
6.1.1 สำหรับแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 1 ปฏิบัติงานรับผิดชอบผู้ป่วยทางอายุรศาสตร์ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกเป็นระยะเวลา 12 เดือน โดยแพทย์ประจำบ้านสถาบันร่วมฝึกอบรมปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า 6 เดือน และสถาบันร่วมฝึกอบรม 6 เดือน โดยอยู่ในความควบคุมของอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม
6.1.2 ส าหรับแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 2 ปฏิบัติงานในสาขาวิชาเฉพาะทางหลักต่างๆของอายุรศาสตร์ ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎ- เกล้า เป็นระยะเวลา 10 เดือน และสาขาวิชาเลือกเป็นระยะเวลา 2 เดือน โดยอยู่ในความควบคุม ของอาจารย์ประจำสาขาวิชาต่าง ๆ
6.1.3 สำหรับแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 3 ปฏิบัติงานรับผิดชอบผู้ป่วยทางอายุรศาสตร์ทั้งผู้ป่วยใน และผู้ป่วยนอกเป็น ระยะเวลา 12 เดือน โดยแพทย์ประจำบ้านสถาบันร่วมฝึกอบรมปฏิบัติงานที่โรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า 6 เดือน และสถาบันร่วมฝึกอบรม 6 เดือน โดยอยู่ในความควบคุมของ อาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม โดยมีวิชาเลือกเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ โดยสรุปการจัดการฝึกอบรมตลอด 3 ปีการศึกษา มีการจัดการฝึกอบรมตามเกณฑ์หลักสูตร ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ดังนี้
01. จัดการฝึกอบรมปฏิบัติงานในการดูแลผู้ป่วยอายุรศาสตร์ เป็นระยะเวลา 23-24 เดือน และ ปฏิบัติงานในสาขาเฉพาะทางรวมกัน 12-13 เดือน
02. การปฏิบัติงานในแต่ละสาขาวิชาเฉพาะทาง เป็นระยะเวลา 1 เดือน
03. สำหรับการปฏิบัติงานในบางสาขาวิชา ได้แก่ โภชนวิทยา พิษวิทยา เวชพันธุศาสตร์ มะเร็ง วิทยา และเวชศาสตร์ผู้สูงอาย สถาบันฝึกอบรมจัดให้แพทย์ประจ าบ้านปฏิบัติงานเป็น สาขาวิชาเลือกไม่เกิน 3 สาขาวิชา และแต่ละสาขาวิชาไม่เกิน 2 เดือน
04. สถาบันฝึกอบรมจัดวิชาเลือกอย่างน้อย 2 เดือน ได้ทั้งอายุรศาสตร์และสาขาเฉพาะทาง หรือสาขาวิชาอื่นตามทีสถาบันฝึกอบรมเห็นสมควรและได้รับการรับรองจากแพทยสภา
05. ในกรณีที่มสถาบันฝึกอบรมสมทบ จะจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้านอายุรศาสตร์ของแพทย์ ประจำบ้านแต่ละคนในสถาบันสมทบ 1 เดือนต่อชั้นปี โดยสถาบันในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ให้มีสถาบันสมทบในภูมิภาค ส่วนสถาบันในภูมิภาคให้มีสถาบันสมทบในกรุงเทพฯ หรือในส่วนภูมิภาค ที่เป็นโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ สำหรับสถาบันที่ยังไม่สามารถจัด ประสบการณ์ในสถาบันสมทบได้ให้จัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้านอายุรศาสตร์ ใน โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ หรือโรงพยาบาลส่วนภูมิภาค 1 เดือน
06. จัดใหมีการเรียนรู้ตาม entrustable professional activities (EPA) ที่กำหนดในภาคผนวก (ภาคผนวก 1) เพื่อใหแพทย์ประจำบ้านมีประสบการณ์ในระหว่างการฝึกอบรม 3 ปี ขั้นต่ำ ดังต่อไปนี้
ก. ประสบการณ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคอายุรศาสตร์ ระดับที่ 1 (เรียนรู้จากผู้ป่วย โดยตรง) โรคละ 5 ราย
ข. ประสบการณ์หัตถการ ประเภท manual procedure ระดับ 1ก. และ 1ข. อย่างละ 5 ครั้ง
ค. ประสบการณ์การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ระดับที่ 1 อย่างละ 5 ครั้ง
ง. ประสบการณ์การประเมินหรือดูแลรักษา ระดับที่ 1 อย่างละ 5 ครง
จ. ประสบการณ์ทางด้านบูรณาการ ระดับที่ 1 อย่างละ 5 ครั้ง จัดให้มีประสบการณ์การเรียนรู้โดยการให้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ใน e-portfolio
07. จัดให้มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาในอัตราส่วนอาจารย์ 1 ท่าน ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม 3 คน (ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 1 คนต่อ 1 ชั้นปี) และอาจารย์ผู้ดูแลประจำชั้นปี ในอัตราส่วน อาจารย์ 3 ท่าน ต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรม 1 ชั้นปี เพื่อกำกับดูแลผู้เข้ารับการฝึกอบรม
08. จัดการฝึกอบรมภายใต้สภาวะการทำงานที่เหมาะสมไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้เข้ารับ การฝึกอบรม
09. จัดการปฐมนิเทศแผนการฝึกอบรมหลักสูตร สิทธหน้าที ความรับผิดชอบ และมารยาทแห่ง วิชาชีพ ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในแต่ละระดับชั้นป ให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมใหม่ทุกปี ดังแสดงรายละเอียดในคู่มือแพทย์ประจำบ้าน
10. จัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้เหตุและผลที่เป็นวิทยาศาสตร์ การประยุกต์ใช้เวชศาสตร์ เชิงประจักษผ่านประสบการณ์ทางคลินิก และการวิพากษ์งานวิจัยอย่างเป็นระบบ ดังแสดง รายละเอียดในคู่มือแพทย์ประจำบ้าน ในหัวข้อ journal club/research progression โดย เนื้อหาการสอนจะปรับปรุงไปตามข้อมูลทางการแพทย์ที่เปลี่ยนแปลงไปใน hot topic in internal medicine
11. จัดให้มีการปรับปรุงเนื้อหาเรื่องความรู้ ทักษะ เจตคติ ที่สัมพันธ์กับบทบาทที่หลากหลาย ของแพทย์ และความจำเป็นของระบบบริการสุขภาพดังแสดงรายละเอียดในคู่มือแพทย์ ประจำบ้าน (SAQ, basic science)

1. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
1.1 ได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตหรือเทียบเท่า ที่แพทย์สภารับรองได้รับการขึ้นทะเบียน ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภาแล้ว ผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ สำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต้นสังกัดต้องปฏิบัติงานชดใช้ทุนอย่างน้อย 1 ปี ผู้สมัครทีไม มีต้นสังกัดจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมไม่ต่ำกว่า 3 ปี สำหรับการ คัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีความพิการซึ่งต้องการความช่วยเหลือพิเศษ อ้างอิงตาม ระเบียบของแพทยสภา
1.2 มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์แพทยสภาในการเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง

2. การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม
วิธีการสมัครและคัดเลือก กองอายุรกรรมจะประกาศคุณสมบัติรายละเอียดเอกสาร ประกอบการสมัครและเกณฑคัดเลือกผ่านเว็บไซต์ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และกองอายุรกรรมมีคณะกรรมการวิชาการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยมีเกณฑ์การ คัดเลือกแบ่งเป็น
1. ต้นสังกัดและสถาบัน
2. คะแนนวิชาอายุรศาสตร์
3. คะแนนเฉลี่ยน GPA ขณะที่เป็นนักศึกษาแพทย์
4. คะแนนสอบข้อเขียน (MCQ)
5. การมีส่วนร่วมกิจกรรมส่วนกลางและความสามารถพิเศษ การตอบคำถามและบุคลคลิก
ภาพโดยรวม แสดงเกณฑ์การให้คะแนนการคัดเลือก โดยแบบประเมินตามภาคผนวก (ภาคผนวก5) และ ผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมสามารถอุทธรณ์ดูผลคะแนนการคัดเลือกได้จากคณะกรรมการ วิชาการกองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

3. จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
รับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ในสัดส่วนปีละชั้นละ 1 คนต่ออาจารย์ผู้ฝึกอบรม 2 คน รวมทั้ง ต้องมีงานบริการตามที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยกำหนดโดยจำนวนผู้เข้ารับ การฝึกอบรมทั้งหมด ต้องไม่เกินศักยภาพตามที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กำหนด (ภาคผนวก 4) สถาบันร่วมฝึกอบรมหรือสถาบันฝึกอบรมสมทบให้กับหลายหลักสูตรในสาขาเดียวกัน จัดให้มี จำนวนผู ้เข้ารับการฝึกอบรมที่จะปฏิบัติงานในสถาบันฝึกอบรมแห่งนั้นในเวลาหนึ่ง ๆ ไม่ เกินศักยภาพของสถาบันฝึกอบรมนั้น
1. คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
1.1 ได้รับปริญญาแพทย์ศาสตร์บัณฑิตหรือเทียบเท่า ที่แพทย์สภารับรองได้รับการขึ้นทะเบียน ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภาแล้ว ผ่านการปฏิบัติงานตามโครงการเพิ่มพูนทักษะ สำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต้นสังกัดต้องปฏิบัติงานชดใช้ทุนอย่างน้อย 1 ปี ผู้สมัครทีไม มีต้นสังกัดจะต้องได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมไม่ต่ำกว่า 3 ปี สำหรับการ คัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีความพิการซึ่งต้องการความช่วยเหลือพิเศษ อ้างอิงตาม ระเบียบของแพทยสภา
1.2 มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์แพทยสภาในการเข้ารับการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง

2. การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม
วิธีการสมัครและคัดเลือก กองอายุรกรรมจะประกาศคุณสมบัติรายละเอียดเอกสาร ประกอบการสมัครและเกณฑคัดเลือกผ่านเว็บไซต์ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย และกองอายุรกรรมมีคณะกรรมการวิชาการคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยมีเกณฑ์การ คัดเลือกแบ่งเป็น
1. ต้นสังกัดและสถาบัน
2. คะแนนวิชาอายุรศาสตร์
3. คะแนนเฉลี่ยน GPA ขณะที่เป็นนักศึกษาแพทย์
4. คะแนนสอบข้อเขียน (MCQ)
5. การมีส่วนร่วมกิจกรรมส่วนกลางและความสามารถพิเศษ การตอบคำถามและบุคลคลิก
ภาพโดยรวม แสดงเกณฑ์การให้คะแนนการคัดเลือก โดยแบบประเมินตามภาคผนวก (ภาคผนวก5) และ ผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรมสามารถอุทธรณ์ดูผลคะแนนการคัดเลือกได้จากคณะกรรมการ วิชาการกองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

3. จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรม
รับผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ในสัดส่วนปีละชั้นละ 1 คนต่ออาจารย์ผู้ฝึกอบรม 2 คน รวมทั้ง ต้องมีงานบริการตามที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยกำหนดโดยจำนวนผู้เข้ารับ การฝึกอบรมทั้งหมด ต้องไม่เกินศักยภาพตามที่ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย กำหนด (ภาคผนวก 4) สถาบันร่วมฝึกอบรมหรือสถาบันฝึกอบรมสมทบให้กับหลายหลักสูตรในสาขาเดียวกัน จัดให้มี จำนวนผู ้เข้ารับการฝึกอบรมที่จะปฏิบัติงานในสถาบันฝึกอบรมแห่งนั้นในเวลาหนึ่ง ๆ ไม่ เกินศักยภาพของสถาบันฝึกอบรมนั้น
กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มีทรัพยากรการศึกษาครอบคลุมประเด็น ต่อไปนี้
- สถานที่และโอกาสในการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ การเข้าถึงแหล่งข้อมูลทาง วิชาการที่ทันสมัย สามารถใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้อย่างเพียงพอ มี อุปกรณ์สำหรับฝึกอบรมภาคปฏิบัติและมีสิ่งแวดล้อมทางการศึกษาที่ปลอดภัย ได้แก่ ศูนย์ เรียนรู้อายุรศาสตร์ชั้น 18 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา โรงพยาบาล พระมงกุฎเกล้า ห้องสมุดโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ห้องพักแพทย์พร้อมอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ในแต่ละสาขาวิชา และห้องพักแพทย์พร้อมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละชั้นปี เป็นต้น
- ห้องประชุมสำหรับจัดประชุมกิจกรรมวิชาการ ได้แก่ ห้องประชุมอายุรกรรม ธนะรัชต์ ชั้น 3 ห้องประชุมพลโทสุจินต์ อุบลวัตร ชั้น 16 ห้องประชุมพีชผล ชั้น 17 ห้องประชุมพร-จำนันท์ พิศกนก ชั้น 17 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- ห้องสันทนาการ ได้แก่ ห้องออกกำลังกาย ชั้น 19 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระ- ชนมพรรษา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
- ห้องประกอบพิธีทางศาสนา ได้แก่ อกาลิโกสถาน ชั้น 20 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระ
ชนมพรรษา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และห้องละหมาดประจำหอผู้ป่วย - เป็นสถานที่สำหรับการฝึกอบรมจำนวนผู้ป่วยเพียงพอและชนิดของผู้ป่วยหลากหลาย สอดคล้องกับผลลัพธ์ุของการเรียนรู้ที่คาดหวัง ทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ผู้ป่วยนอกเวลา ราชการ และผู้ป่วยวิกฤต ตามเกณฑ์ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ดังนั้น จำนวนหอผู้ป่วยและจำนวนผู้ป่วยในเพียงพอต่อการฝึกอบรม ได้แก่ หอผู้ป่วยสามัญ หอผู้ป่วยพิเศษ หอผู้ป่วยอภิบาลอายุรกรรม หอผู้ป่วยอภิบาลโรคหัวใจและหลอดเลือด และ หอผู้ป่วยปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นต้น จำนวนห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอกอายุรกรรมทั่วไป และอายุรกรรมเฉพาะทาง และ จำนวนผู้ป่วยนอกเพียงพอและหลากหลายต่อการฝึกอบรม
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนรู้ที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถเข้าถึงได้ มีการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารให้เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ ระบบอินเตอร์เน็ตไร้สายทั่วทั้งโรงพยาบาล โดยสามารถเชื่อมต่อเข้าระบบฐานข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ทางการแพทย์ ในการสืบค้นวารสารต่าง ๆ เช่น UpToDate, Clinical Key และห้องสมุดโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ที่สามารถเชื่อมต่อฐานข้อมูลกับมหาวิทยาลัยมหิดล
- การปฏิบัติงานเป็นทีมร่วมกับผู้ร่วมงานและบุคลากรวิชาชีพอื่น ได้แก่ การดูแลผู้ป่วยข้าง เตียงแบบสหสาขาวิชาชีพ การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนในวันสำคัญต่าง ๆ
- การเรียนการสอนความรู้พื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาที่ฝึกอบรม มี การบูรณาการและการวิจัยระหว่างการฝึกอบรม ตามตารางปฏิทินวิชาการกองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้แก่ การอบรมการวิจัยพื้นฐานทางคลินิก และมีทีมให้ คำปรึกษาการวิเคราะห์ทางสถิติ เป็นต้น
- การจัดทำแผนการฝึกอบรมการดำเนินการฝึกอบรม และการประเมินการฝึกอบรมโดย ผู้เชี่ยวชาญทางแพทย์ศาสตร์ศึกษา และทีมคณะกรรมการวิชาการ กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
- การฝึกอบรมในสถาบันอื่นทั้งในและนอกประเทศ เป็นวิชาเลือกระหว่างการฝึกอบรม โดยใช้ ระยะเวลาไม่เกินตามที่ระบุไว้ในหลักสูตรการฝึกอบรม
กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มการกำกับดูแลการฝึกอบรมให้เป็นไปตามแผนการ ฝึกอบรม/หลักสูตรเป็นประจำมีการประเมินหลักสูตรทุกปีในการสัมมนาอาจารย์และแพทย์ประจำบ้าน โดย ครอบคลุมเนื้อหา ดังต่อไปนี้
- พันธกิจของแผนการฝึกอบรม/หลักสูตร
- ผลลัพธ์ุการเรียนรู้ที่พึงประสงค์
- แผนการฝึกอบรม
- ขั้นตอนการดำเนินงานของแผนการฝึกอบรม
- การวัดและประเมินผล
- พัฒนาการของผู้รับการฝึกอบรม
- ทรัพยากรทางการศึกษา
- คุณสมบัติของอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรม
- ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการรับสมัครผรับการฝึกอบรมและความต้องการของระบบ สุขภาพ
- สถาบันร่วมฝึกอบรม
- ข้อควรปรับปรุง

กองอายุรกรรม โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มีการแสวงหาข้อมูล ป้อนกลับเกี่ยวกับการ ฝึกอบรม/หลักสูตรจากผู้เข้ารับการฝึกอบรมผ่านการประเมินกิจกรรมวิชาการทุกปี โดยมีการแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นในการสมมนาแพทย์ประจำบ้าน นอกจากนี้คณะกรรมการวิชาการฯ ได้มีการจัดการตรวจเยี่ยม แพทย์ผู้สำเร็จการฝึกอบรม เพื่อได้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับความสามารถในการปฏิบัติงานของแพทย์ผู้สำเร็จ การฝึกอบรม จากผู้บังคับบัญชาและเพื่อนร่วมงานของโรงพยาบาลทีแพทย์ผู้สำเร็จการฝึกอบรมปฏิบติงานอยู่ เป็นประจำทุกปี
สถาบันฝึกอบรมจัดให้มีการทบทวนและพัฒนาคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเป็นระยะ ๆ หรือ อย่างน้อยทุก 5 ปี ปรับปรุงกระบวนการโครงสร้างเนื้อหาผลลัพธ์ุและสมรรถนะของผู้สำเร็จการฝึกอบรม รวมถึงการวัดและการประเมินผลและสภาพแวดล้อมในการฝึกอบรมให้ทันสมัยอยู่เสมอ ปรับปรุงแก ข้อบกพร่องที่ตรวจพบมีข้อมูลอ้างอิงและแจ้งผลการทบทวนและพัฒนาให้ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่ง ประเทศไทยรับทราบ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย เป็นผู้รับผิดชอบดูแลการฝึกอบรม และทบทวน/ พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเป็นระยะ ๆ หรืออย่างน้อยทุก 5 ปี และแจ้งผลการทบทวน/พัฒนาให้แพทย์- สภารับทราบ